Saturday, March 17, 2007

กฎหมายภาษี


๑. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษี คือ ผู้ที่มีรายได้ โดยได้เงินจากหน้าที่การงาน หรือกิจการที่ทำในประเทศไทย หรือจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทยไม่ว่าเงินนั้นจะรับ หรือจ่ายในหรือนอกประเทศไทย

กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี
ผู้มีเงินได้พึงประเมินในปีที่ล่วงมาแล้ว เข้าหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องยื่นรายการและเสียภาษี ภายในระหว่างเวลาตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงสิ้นเดือนมีนาคมของปี คือ

(๑) ชายที่ไม่มีภรรยาหรือหญิงที่ไม่มีสามี
๑) มีเงินได้พึงประเมินเกินกว่า ๓๐,๐๐๐ บาท
๒) มีเงินได้พึงประเมินเพียงเฉพาะประเภทที่ ๑ มาตรา ๔๐ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร
คือเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานทุกประเภทอย่างเดียวเกินกว่า ๕๐,๐๐๐ บาท

(๒) ชายที่มีภรรยาหรือหญิงที่มีสามี
๑) มีเงินได้พึงประเมิน
เกินกว่า ๖๐,๐๐๐ บาท
๒) มีเงินได้พึงประเมินเพียงเฉพาะประเภทที่ ๑ มาตรา ๔๐ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร คือเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานทุกประเภท อย่างเดียวเกินกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท

๒. ภาษีป้าย

ป้าย คือ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือกิจการอื่นๆ เพื่อโฆษณา โดยทำขึ้นด้วยวิธีใดๆทั้งนี้จะต้องเสียภาษีด้วย

(๑) ป้ายที่ต้องเสียภาษี
ป้ายที่ต้องเสียภาษีได้แก่ ป้ายที่แสดงชื่อยี่ห้อหรือเครื่องหมายที่ใช้ใน การประกอบการค้า หรือกิจการอื่นๆ เพื่อการโฆษณาหรือเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะทำขึ้นด้วยวิธีใดๆ ก็ตาม

(๒) การยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย
เจ้าของป้ายต้องไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายต่อเทศบาล (ถ้าอยู่ในเขตเทศบาล) หรือต่อนายอำเภอ (ถ้าอยู่นอกเขต) ภายในเดือนมีนาคมทุกปี
หากมีป้ายหลังจากเดือนมีนาคมหรือถ้าเปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายเดิม เจ้าของป้ายต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายอีกครั้งหนึ่งภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่มีป้ายหรือใช้ป้ายใหม่แทน
ป้ายเดิม หรือนับแต่วันเปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายเดิม

การขอรับแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.๑) และการยื่นให้ขอรับ และยื่นได้ดังนี้
๑) ป้ายที่อยู่ในเขต
เทศบาลใด ให้ไปขอรับแบบแสดงรายการ ภาษีป้าย (ภ.ป.๑) ณ สำนักงานเทศบาลนั้น
๒) ป้ายที่อยู่นอกเขตเทศบาล ให้ไปขอรับแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.๑) ณ ที่
ว่าการอำเภอซึ่งป้ายนั้นติดตั้งอยู่

(๓) การชำระภาษีป้าย
เมื่อได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.๑) แล้วให้ผู้ยื่นนำเงินค่า ภาษีป้ายไปชำระต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ
สถานที่ซึ่งได้ยื่นแบบแสดงรายการ ภาษีป้าย (ภ.ป.๑) ไว้ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินจาก พนักงานเจ้าหน้าที่

ถ้าไม่มีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.๑)
และหาตัวผู้มีหน้าที่ เสียภาษีป้ายไม่ได้ ให้ผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ถ้า ไม่อาจหาผู้ครอบครองได้ ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือที่ดินที่ป้ายนั้นอยู่ มีหน้าที่เสียภาษี

ในกรณีที่เจ้าของป้ายอยู่นอกประเทศไทย ให้ตัวแทนหรือผู้แทนในประเทศไทย มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.๑) แทนเจ้าของป้าย ถ้าเจ้าของป้ายตาย เป็นผู้ไม่อยู่ เป็นคนสาบสูญ เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถให้ผู้จัดการมรดก ผู้ครอบครองทรัพย์มรดก ไม่ว่าจะเป็นทายาทหรือผู้อื่น ผู้จัดการทรัพย์สิน ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณีเป็นผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.ป.๑) แทนเจ้าของป้าย

การชำระภาษี อาจทำโดยส่งธนาณัติหรือตั๋วแลกเงินให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่นได้ และถือว่าวันส่งเป็นวันชำระเงิน
เมื่อได้ชำระภาษีป้ายแล้ว ให้ขอรับใบเสร็จรับเงินจากพนักงาน เจ้าหน้าที่ด้วยทุกครั้ง ส่วนหลักฐานการเสียภาษี ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องติดหลักฐานไว้ ณ ที่เปิดเผยที่ สถานประกอบกิจการ

(๔) ผลของการไม่ดำเนินการเกี่ยวกับภาษีป้าย

กฎหมายกำหนดเงินเพิ่มแก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ในอัตราดังต่อ ไปนี้


(๔.๑) ร้อยละ ๑๐ ของจำนวนเงินที่เสียภาษี ถ้าไม่ยื่นแสดงรายการภาษีป้ายภายในกำหนด
(๔.๒) ร้อยละ ๑๐ ของภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติม ถ้าแสดงรายการภาษีป้ายไม่ถูกต้อง ทำให้เสียภาษีป้ายน้อยลง
(๔.๓) ร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย ถ้าไม่ชำระภาษีป้ายภายในเวลากำหนด
นอกจากนี้ กฎหมายยังกำหนดโทษอาญาแก่ผู้กระทำผิดเกี่ยวกับภาษีป้าย เช่น
(๔.๔) จงใจไม่ยื่นแบบแสดงภาษีป้าย มีโทษปรับตั้งแต่ ๕,๐๐๐ บาท ถึงห้าหมื่นบาท
(๔.๕) ไม่ระบุชื่อและที่อยู่เจ้าของป้าย ที่ติดตั้งบนที่ดินของผู้อื่น และจะมีพื้นที่เกิน ๓ ตารางเมตร มีโทษปรับวันละ ๑๐๐ บาท เสียรายวัน
ตลอดเวลาที่กระทำความผิด
(๔.๖) ไม่แจ้งการรับโอนป้าย ไม่แสดงการเสียภาษีป้าย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ ๑,๐๐๐ บาทถึง ๑๐,๐๐๐ บาท

๓. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

โรงเรือน คือ ที่อยู่อาศัย หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ กับที่ดิน ซึ่งอยู่ อาศัยเองหรือให้ผู้อื่นเช่าหรือได้ใช้ประกอบกิจการต่างๆ
ในรอบปี จะต้องเสียภาษีดังนี้
(๑) ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน หรือทรัพย์สินที่ต้อง แจ้งรายการคือ โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ กับที่ดิน ซึ่งใช้ต่อเนื่อง จากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ ที่ให้เช่าหรือให้ผู้อื่นอาศัย หรือพ่อแม่ หรือผู้อื่นอยู่อาศัย และที่ซึ่งได้ใช้ในกิจการต่างๆ ในปีที่ผ่านมา
(๒) โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ต้องแจ้งรายการ ตั้งอยู่ในท้องที่ใดให้ยื่นแบบแจ้งรายการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ท้องที่นั้นภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี และผู้รับการประเมินควรไปยื่นด้วยตนเอง แต่ถ้าไม่อาจไปได้ก็จัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้
(๓) การยื่นเสียภาษีโรงเรือน ให้ยื่นภายในกำหนดตามแบบพิมพ์แสดงรายการแห่งทรัพย์สิน (ภ.ร.ด. ๒) และกรอกรายการตามแบบพิมพ์ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
(๔) สถานที่ขอรับแบบพิมพ์แสดงรายการแห่งทรัพย์สิน (ภ.ร.ด. ๒) ให้ไปขอรับและยื่นได้ ดังนี้
๑) ทรัพย์สินตั้งอยู่ในเขตเทศบาล ให้ไปขอรับและยื่นต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานเทศบาลนั้น
๒) ทรัพย์สินตั้งอยู่นอกเขตเทศบาล ให้ไปขอรับและยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอซึ่งทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่
(๕) การชำระเงินค่าภาษีโรงเรือน ให้นำเงินไปชำระต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ ซึ่งท่านไปยื่นแบบพิมพ์แสดงรายการทรัพย์สินไว้แล้ว
ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน หรืออาจชำระทางธนาณัติ, ตั๋วแลกเงินของธนาคารหรือเช็คที่ธนาคารรับรอง ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนได้
(๖) การประเมินค่ารายปีเพื่อเก็บภาษีโรงเรือน พนักงานเจ้าหน้าที่ จะพิจารณาจากลักษณะของทรัพย์สิน ถ้าผู้เสียภาษีแสดงรายการค่ารายปีต่ำไป พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจประเมินใหม่ได้
(๗) อัตราการเสียภาษีโรงเรือนเสียร้อยละ ๑๒ ของค่ารายปี หมายความว่าค่ารายปี ๑๐๐ บาท ต้องเสียภาษีโรงเรือนเป็นเงิน ๑๒ บาท ๕๐ สตางค์

ข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ได้แก่
๑. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างของการเคหะแห่งชาติ ที่ผู้เช่าซึ่งอาศัยอยู่เอง หรือให้โดยมิได้ใช้เป็นที่ไว้สินค้า หรือประกอบการอุตสาหกรรมหรือประกอบกิจการอย่างอื่น เพื่อหารายได้
๒. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ซึ่งป”ดไว้ตลอดปี และเจ้าของ มิได้อยู่เองหรือให้ผู้อื่นอยู่ นอกจากคนเฝ้าโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่าง อื่นๆ
หรือในที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกัน

๔. โทษสำหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษี

(๑) ผู้ใดจงใจยื่นข้อความเท็จหรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือตอบคำถาม ด้วยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมา
แสดง เพื่อหลีกเลี่ยงการ คำนวณค่ารายปีแห่งทรัพย์สินตามที่ควรจะเสียจริงหรือ
(๒) มีเจตนาละเลยโดยการฉ้อโกง หรือโดยการใช้อุบายหรือโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งสิ้น ที่จะหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการคำนวณ ค่ารายปีแห่งทรัพย์สินของตนตามที่ควรจะเสียจริงผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท หรือทั้งปรับทั้งจำ

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

Copyright © 2001 by Faculty of Law Thammasat University
All rights reserved.
เลขที่ 2 ถนนพระจันทร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์ : (66-2)222-0159, 613-2108


. . . . . . . .